Print this page

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

     องค์การบริการส่วนตำบลหนองฮาง อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี มีนายกองค์การบริการส่วนตำบลหนองฮาง เป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติครม.ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) การพัฒนา ภาพการณ์ที่ปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต ของ องค์การบริการส่วนตำบลหนองฮาง ดังนี้

วิสัยทัศน์ (Vision)

     วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต

“โครงสร้างพื้นฐานเด่น การเกษตรดี ชุมชนเข้มแข็ง”

พันธกิจ (Mission)

     พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)

  1. สร้างระบบการคมนาคมขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง
  2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพและการกระจายรายได้ให้แก่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชน
  3. ส่งเสริมศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม จริยธรรมและคุณธรรมอันดีงามในตำบล
  4. ส่งเสริมและพัฒนาด้านสาธารณสุข
  5. ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวของตำบลอย่างยั่งยืน
  6. เสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
  7. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการพึ่งพาตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาตำบล

 

เป้าหมาย (Goal)

     เป้าหมาย (Goal) หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (การดำเนินการ เพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์หรือภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์)

  1. ระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
  2. ประชาชนมีความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานภูมิปัญญาสมัยใหม่
  3. โรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับบริบทวิถี ชีวิตของท้องถิ่น
  4. ครอบครัวอบอุ่นชุมชนเข้มแข็ง
  5. ประชาชนมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและการป้องกันโรคอย่างเป็นระบบ
  6. ประชาชนมีความรู้ปรัชญาอุดมการณ์ สิทธิและหน้าที่ของตนเองในระบอบประชาธิปไตย
  7. ศูนย์ประสานงานและบูรณาการข้อมูล ทรัพยากร ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  8. ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมและกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรภาคประชาชน
  9. ระบบการทำงานที่สนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  10. ชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ มีส่วนร่วม ในกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นทุกระดับชั้น
  11. ศูนย์บูรณาการข้อมูลการท่องเที่ยวที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
  12. อุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลุ่มอาชีพ ได้รับการส่งเสริมแบบครบวงจร (ความรู้ การผลิต การบริหารการตลาด)
    ในการกำหนดทิศทางการจัดการทุกขั้นตอน
  13. ประชาชนมีองค์ความรู้ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการ กำหนดทิศทางการจัดการทุกขั้นตอน
  14. ความเป็นระบบของข้อมูลพื้นที่เป็นสาธารณะ ผู้รับผิดชอบ และการใช้สอยร่วมกันของประชาชน
  15. มีการจัดระบบการเรียนรู้ เผยแพร่ สืบทอด และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น